ทำเบียร์ไม่ใช้ตู้เย็น
หลายๆคนคงสงสัยว่า ทำไมเหล้าบ๊วยหรือแม้กระทั่งเหล้าขาวจึงหมักไว้ในโอ่ง โดยไม่มีตู้เย็นได้ ผิดกับเบียร์ที่ต้องหมักในตู้เย็นควบคุมอุณหภูมิเสมอ ซึ่งการหมักเหล้า ชาวบ้านเค้าก็ใช้ลูกแป้งหัวเชื้อเหล้า ซึ่งในลูกแป้งก็จะมียีสต์ และเวลาทำเบียร์เราก็ใช้ยีสต์เหมือนกัน วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับยีสต์ ที่สามารถหมักเบียร์ที่อุณหภูมิห้องได้ และทำความรู้จักกับเทคนิคการ Swamp Cooler และหา ข้อดี-ข้อเสีย ของการ ทำเบียร์ไม่ใช้ตู้เย็น รวมไปถึงตอบคำถามว่าถ้าไม่ใช้ตู้เย็น จะประหยัดค่าไฟได้เท่าไร
สารบัญ
1.เทคนิคการ Swamp cooler
2.ยีสต์ที่สามารถหมักอุณหภูมิห้องได้
3.เปรียบเทียบรสชาติ หมักในตู้เย็นและนอกตู้เย็น
4.ประหยัดค่าไฟฟ้าได้เท่าไร
5.ข้อดี – ข้อเสีย
6.สรุป
1.เทคนิค Swamp เพื่อการ ทำเบียร์ไม่ใช้ตู้เย็น
หากคุณไม่มีตู้แช่ใหญ่ๆ คุณก็ต้องใช้ตู้เย็นบ้าน และหากคุณไม่มีตู้เย็นบ้าน ก็ต้องใช้เทคนิคการ Swamp นั่นก็คือ การนำเอาถังหมักเบียร์ไปใส่ใน กะละมังหรือภาชนะใหญ่ๆ อะไรก็ได้ จากนั้นเอาผ้าขนหนูคลุมมัน ใส่น้ำเข้าไปรอบข้างถังหมัก และคอยเติมน้ำเย็น หรือ ใส่น้ำแข็งบ่อยๆ อุณหภูมิมันก็จะแกว่งไปมา แต่ก็สามารถหมักเบียร์ได้ แต่ก็ได้แค่เบียร์ประเภท Ale เท่านั้นนะครับ Lager ถือว่าหมดสิทธิ์ อาจจะดูบ้านๆนะครับ แต่ก็พอใช้ได้ สำหรับการเริ่มต้นทำเบียร์กินเอง
การ Swamp Cooler
2.ยีสต์สำหรับการ ทำเบียร์ไม่ใช้ตู้เย็น
ยีสต์ทำเบียร์นั้น มีมากมายหลายแบบ หลายยี่ห้อ แต่หลักๆจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
- Lager – พฤติกรรมของยีสต์ประเภทนี้ จะเริ่มกินน้ำตาลจากด้านล่างก่อน ชอบอุณหภูมิต่ำ ประมาณ 10 องศาเซลเซียส การก่อตัวของยีสต์ไม่บวมมาก กินน้ำตาลช้า
- Ale – ลักษณะของยีสต์ประเภทนี้ ก็จะตรงข้ามกันกับ Lager ทุกประการ คือเริ่มกินน้ำตาลจากด้านบน ชอบอุณภูมิสูง ประมาณ 20 องศาเซลเซียส การก่อตัวของยีสต์เป็นก้อนใหญ่ กินมูมมาม กินน้ำตาลเร็ว
เราสามารถดู specification ของยีสต์ได้ จากข้างซองหรือจากเว็บไซต์ผู้ผลิต ดังภาพด้านล่าง
ถ้าหากเราสังเกตุข้างซองยีสต์ Ale จะเห็นได้ว่า อุณภูมิที่ยีสต์ตัวนี้โปรดปรานก็คือ 15 – 22 องศาเซลเซียส และถัดมาอีกซองนึงก็คือยีสต์ Lager ซึ่งอุณหภูมิที่ยีสต์ตัวนี้ชอบก็คือ 12 – 15 องศาเซลเซียส จะเห็นได้ว่าเราไม่สามารถหมักเบียร์คุณภาพดี ที่อุณหภูมิห้องได้เลย เพราะอากาศบ้านเรานั้น อยู่ที่ 25 – 40 องศาเซลเซียส
แล้วอยู่มาวันหนึ่ง โลกของเราก็ได้รู้จักกับยีสต์ตัวหนึ่ง ชื่อว่า Kveik (อ่านว่า ไค้ ออกเสียงเหมือน Kite ที่แปลว่า ว่าว เลยครับ) ซึ่งหากดูจาก specification จะพบว่าอุณหภูมิที่ยีสต์ตัวนี้ชอบ อยู่ที่ 20 – 40 องศาเซลเซียส ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก ประดุจดังกับยีสต์นี้มีบ้านเกิดอยู่ที่เมืองไทย (ส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบยีสต์ตัวนี้เท่าไรนัก เพราะมันติดกลิ่นหมักๆดองๆแล้วออกรสชาติเปรี้ยวๆนิดๆ)
จะดีแค่ไหนหากเราใช้ 2 สิ่งควบคู่กันไป คือ Swamp cooler และยีสต์ Kveik ผมจินตนาการถึงอนาคตที่กำลังจะมา แล้วก็อดตื่นเต้นไม่ได้ คงจะมีคราฟต์เบียร์ ถูกผลิตออกมามากมาย โดยที่ไม่ใช้ตู้เย็นเลย หากคุณอยากทราบเรื่องราวเกี่ยวกับยีสต์ สามารถอ่านที่บทความนี้ได้ครับ เจาะลึกเรื่องของยีสต์ทำเบียร์
Specification ของยีสต์ Kveik
3.เปรียบเทียบรสชาติเบียร์
เบียร์ที่หมักโดยยีสต์ Kveik จะมี after taste ที่ค่อนข้าง dry ซึ่งก็หมายความว่า กลืนลงคอปั๊บ รสชาติหายไปอย่างรวดเร็ว ไม่ค่อยมีความหวานติดคอสักเท่าไร แต่ในเรื่องของความ fruity ก็มีนิดหน่อยนะครับ พอๆกับ Fermentis US-05 เลย แต่ประเด็นก็คือ ในส่วนของกลิ่น แอลกอฮอล์ หรือกลิ่น fuel ก็อาจจะมีนิดหน่อย เนื่องจากการหมักที่อากาศร้อน โดยรวมแล้วก็ถือว่าไม่เลวเลยนะครับ
4.ประหยัดไฟได้เท่าไรกับการ ทำเบียร์ไม่ใช้ตู้เย็น
การคิดคำนวณค่าไฟฟ้าของตู้เย็นนั้น สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1.เกิดจากการคำนวณทางไฟฟ้า 2.ดูที่หน่วยของมิเตอร์
วิธีแรก คือเราจะต้องทราบ specification ของตู้เย็นของเรา ว่ามันกินไฟฟ้ากี่แอมป์ ซึ่งถ้าเป็นตู้แช่ก็จะอยู่บริเวณด้านใน ถ้าเป็นตู้เย็นบ้านส่วนมากจะอยู่ด้านหลัง ดังภาพด้านล่าง จะเห็นได้ว่าตู้นี้ กินไฟฟ้า 1.6 แอมป์
Specification ของตู้แช่ 2 ประตู ยี่ห้อ Fresher รุ่น FR-2FCL
เมื่อเราทราบแล้วว่า ตู้นี้กินไฟฟ้า 1.6 แอมป์ เราจะต้องทำการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ วัตต์
หากเราพิจารณามิเตอร์ไฟฟ้าในบ้านเรา จะมีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง (kW / hr) หมายความว่า ถ้าเราใช้ไฟ 1000 วัตต์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง มิเตอร์จะขึ้น 1 หน่วย จากนั้นเราจะทำการหาว่า มิเตอร์จะขึ้น 1 หน่วย ใช้เวลาเท่าไร
จากนั้น เราจะทำการหาว่า ใน 1 วัน ตู้เย็นของเราจะใช้ไฟฟ้ากี่หน่วย
จากนั้น เราจะทำการหาว่าใน 1 เดือนตู้เย็นจะใช้ไฟฟ้ากี่หน่วย
หากกำหนดให้ค่าไฟฟ้าเราหน่วยละ 7 บาท ก็จะคำนวณได้ว่า ตู้เย็นตู้นี้มีค่าไฟ = 257 x 7 = 1800 บาท ต่อเดือน
สิ่งที่เราคำนวณนั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะในความเป็นจริงแล้ว compressor ของตู้เย็นไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเราควรคำนวณที่ 50% ของ compressor ก็จะได้เลขค่าไฟฟ้าประมาณ 900 บาท ต่อเดือน
วิธีที่สอง ออกแนวบ้านๆหน่อย และไม่ต้องปวดหัว กับการคิดเลขอะไรมากมาย นั่นก็คือ คุณเสียบตู้เย็นไว้ 1 ตู้ แล้วปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทั้งหมด จากนั้นทำตามขั้นตอนนี้
- จดเลขมิเตอร์ (เฉพาะเลขหน่วยที่ใช้คิดเงิน) แล้วบันทึกเวลาตอนจดเลขเอาไว้
- รอเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง
- กลับมาจดเลขมิเตอร์ (เฉพาะเลขหน่วยที่ใช้คิดเงิน)
- คำนวณหาว่าใน 1 ชั่วโมง มิเตอร์ขึ้นกี่หน่วย
จำนวนหน่วยใน 1 ชั่วโมง = เลขมิเตอร์รอบหลัง – เลขมิเตอร์รอบแรก
เมื่อทราบจำนวนหน่วยใน 1 ชั่วโมงแล้ว ก็นำไปหาว่าใน 1 วันมิเตอร์จะขึ้นกี่หน่วย
จำนวนหน่วยในหนึ่งวัน = จำนวนหน่วยใน 1 ชั่วโมง x 24
หลังจากที่ทราบจำนวนหน่วยใน 1 วันแล้ว ก็นำไปหาว่าใน 1 เดือนมิเตอร์จะขึ้นกี่หน่วย
จำนวนหน่วยในหนึ่งเดือน = จำนวนหน่วยใน 1 วัน x 30
กำหนดให้ค่าไฟฟ้า หน่วยละ 7 บาท ก็ทำการหาค่าไฟฟ้าได้ดังนี้
ค่าไฟฟ้า = จำนวนหน่วยในหนึ่งเดือน x 7
5.ข้อดี – ข้อเสียของการ ทำเบียร์ไม่ใช้ตู้เย็น
การใช้เทคนิค Swamp cooler หรือ ใช้ยีสต์ที่หมักอุณหภูมิห้องได้ มีข้อดีมีดังนี้
- ประหยัดค่าตู้เย็น เพราะการซื้อตู้แช่ 2 ประตู ราคา 20,000 กว่าบาท
- สามารถลดค่าไฟฟ้า เพราะตู้แช่ 2 ประตู้จะมีค่าไฟประมาณ 1,000 บาท/เดือน
ส่วนข้อเสียมีดังต่อไปนี้
- ไม่สามารถคาดหวังมาตรฐานในการทำเบียร์ได้ เนื่องด้วยอุณหภูมิที่แกว่งไปมา จึงทำให้มีผลต่อรสชาติเบียร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- ในการทำให้เบียร์ clear และใส ต้องอาศัยการ cold crash ซึ่งต้องใช้ตู้เย็นอยู่ดี หรือคุณอาจจะมีตู้เย็นเพื่อ cold crash โดยเฉพาะก็ได้ สามารถอ่านบทความ การดัดแปลงตู้เย็นเพื่อการหมักเบียร์
6.สรุป
การ ทำเบียร์ไม่ใช้ตู้เย็น คำตอบก็คือทำได้ครับ และก็พอที่จะมีวิธีอยู่บ้าง แต่หากท่านใดที่ต้องทำคราฟต์เบียร์ขาย ก็ต้องหาวิธีควบคุมคุณภาพให้ได้ เท่านั้นเอง เพราะเรื่องของคุณภาพเบียร์ คือโจทย์ที่ใหญ่พอสมควร หากลูกค้าซื้อเบียร์ของคุณและปรากฏว่าในแต่ละครั้ง รสชาติไม่เคยเหมือนเดิมเลย ทั้งๆที่คุณทำเบียร์ตัวเดิม อันนี้ก็จะเป็นปัญหาได้นะครับ หากคุณต้องการทราบเรื่อง กลิ่นไม่พึงประสงค์ในเบียร์ ก็สามารถเข้าไปอ่านได้ ยังไงก็ขอให้โชคดีครับ